วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผลไม้ที่ชอบ

ผลไม้  ลำไย 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลําไย


                 การผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสม คือ แนวทางในการทำ เกษตรกรรมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดี ตรงตามมาตรฐานที่กำ หนด ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน และขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกร และผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุดเกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำ ให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
การผลิตดังกล่าวจะมีคำแนะนำของทางราชการ ซึ่งจัดทำ ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรนำ ไปปฏิบัติได้ภายใต้สภาวะที่เป็นจริง เหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น และภูมิประเทศ ขั้นตอนการผลิตทางการเกษตรบางขั้นตอนอาจก่อให ้เกิดป ัญหา ทำ ให้ผลผลิตที่ได้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น การป้องกันกำ จัดศัตรูพืช อาจมีการใช้สารเคมีป้องกันกำ จัดศัตรูพืช ที่มีอันตรายและมีพิษตกค้างสูง เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือการให้ปุ๋ยให้นํ้าแก่ผักหรือผลไม้ที่ใช้บริโภคสด อาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นจึงจำ เป็นต้องมีการแนะนำ แนวทางการผลิตทางการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ดังกล่าว
การผลิตลําไยอย่างถูกต้องและเหมาะสม
Good Agricultural Practice (GAP) for Longan
การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำ หรับลำ ไยเป็นคำ แนะนำ สำ หรับให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ได้ผลผลิตลำ ไยที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำ หนดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. แหล่งปลูก
แหล่งปลูกที่เหมาะสมสำ หรับลำ ไย ควรคำ นึงถึงองค์ประกอบสำ คัญ ดังนี้
1.1 พื้นที่
• มีความสูงจากระดับนํ้าทะเล 100 – 1,000 เมตร
• มีความลาดเอียง 10 – 15%
• มีการระบายนํ้าดี ระดับนํ้าใต้ดินลึกกว่า 2 เมตร
1.2 ลักษณะดิน
• ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร
• มีความเป็นกรดด่าง 5.5 – 6.5
1.3  สภาพภูมิอากาศ
• มีอุณหภูมิช่วงฤดูหนาวตํ่ากว่า 15 องศาเซลเซียส นานติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์
• มีปริมาณนํ้าฝนไม่ตํ่ากว่า 1,000 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนดี
1.4  แหล่งนํ้ า
• มีแหล่งนํ้าสะอาดและมีปริมาณมากพอที่จะให้นํ้าได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
2. พันธุ์
ควรมีลักษณะดังนี้
• ต้นพันธุ์ควรมีประวัติการติดผลดกติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
• มีเปอร์เซนต์ผลใหญ่จำ นวนมาก มีคุณภาพดี เนื้อหนาเมล็ด
เล็ก สีผิวเหลืองนวล
• เหมาะสมสำ หรับบริโภคสด และทำ ลำ ไยอบแห้ง
3. การปลูก
• ควรเตรียมพันธุ์ดีที่ต้องการไว้ล่วงหน้า 1 ปี เพื่อจะได้ต้นลำ ไยที่แข็งแรง
• เตรียมหลุมปลูกขนาด 80x80x80 เซนติเมตร วางผังให้ระยะปลูก 8×10 เมตร
• ขุดหลุม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กิโลกรัมคลุกเคล้ากับหน้าดินแล้วใส่ลงหลุม พูนดินสูงจากปากหลุม 15 เซนติเมตร
• ก่อนปลูกทำ หลุมเท่ากระเปาะชำ ต้นลำ ไย วางต้นลำ ไยแล้วกลบโคนให้แน่น
• ทำ หลักป้องกันต้นลำ ไยโยกคลอน รดนํ้าให้ชุ่ม
• พรางแสงให้จนกระทั่งแตกยอดอ่อน 1 ครั้ง จึงงดการพรางแสง
4. การตัดแต่งกิ่ง
• ต้นลำ ไยอายุ 1-3 ปี ซึ่งยังไม่ให้ผลผลิต ควรตัดแต่งให้ลำไยมีลักษณะทรงพุ่มเป็นทรงกลม
• ลำไยอายุ 4-5 ปี ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยวตัดกิ่งกลางทรงพุ่มที่อยู่ในแนวตั้งเหลือตอกิ่ง เพื่อเปิดกลางทรงพุ่มให้ได้รับแสงสว่างมากขึ้น
• ลำไยอายุ 5-10 ปี ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มชนกัน ตัดแต่งเช่นเดียวกับลำ ไยอายุ 4-5 ปี ตัดปลายกิ่งทั้งแนวนอนและแนวราบให้มีความสูงเหลือเพียง 3 เมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน
สำหรับลำ ไยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งแบบกิ่งเว้นกิ่งเพื่อให้ลำ ไยออกดอกสมํ่าเสมอทุกปี
5. การให้ปุ๋ย
ลำไยอายุ 5 ปี ขึ้นไป มีการใส่ปุ๋ยเคมี ดังนี้
• หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม กระตุ้นให้ลำ ไยแตกใบอ่อน
• เมื่อลำ ไยแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ประมาณต้นเดือน กันยายน ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม
• ประมาณต้นเดือนตุลาคม กระตุ้นให้ลำ ไยมีใบแก่ พักตัวสะสมอาหาร เตรียมความพร้อมต่อการผ่านช่วงหนาวที่จะกระตุ้นให้ลำไยออกดอก ใส่ปุ๋ย 0-46-0 + 0-0-60 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 2 กิโลกรัม
• เดือนพฤศจิกายน ใส่ปุ๋ย 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตรพ่นให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อไม่ให้ลำ ไยแตกใบใหม่
• เมื่อลำ ไยติดผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 15-15-15+46-0-0 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 1-1.5 กิโลกรัม เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
• ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 0-0-60 อัตราต้นละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต
6. การให้นํ้า
6.1 วิธีการให้นํ้ า
• แบบใช้สายยางรด ลงทุนตํ่าแต่ต้องมีแหล่งนํ้าเพียงพอ
• แบบข้อเหวี่ยงขนาดเล็ก เป็นการให้นํ้าในกรณีมีแหล่งนํ้าจำ กัด ต้นทุนสูงกว่าแบบแรก
• แบบนํ้าหยด เหมาะสำ หรับที่มีแหล่งนํ้าจำ กัดมากต้นทุนสูง
6.2 ปริมาณนํ้ า
ช่วงฤดูแล้งหลังออกดอก เริ่มให้นํ้าเมื่อลำ ไยมีดอกบานปฏิบัติ ดังนี้
• สัปดาห์แรก ฉีดนํ้าพรมที่กิ่งและโคนต้นเล็กน้อยเพื่อให้ลำ ไยค่อยๆ ปรับตัว
• สัปดาห์ที่สอง เริ่มให้นํ้าเต็มที่ สำ หรับต้นลำ ไยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 7 เมตร ให้นํ้าปริมาณครั้งละ 200 – 300 ลิตรต่อต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
7. การดูแลรักษาหลังการติดผล
7.1 การคํ้ากิ่ง โดยใช้ไม้ไผ่คํ้ากิ่งทุกกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากพายุลมแรง และกิ่งที่มีผลลำไยจำ นวนมาก
7.2 การป้องกันกําจัดศัตรูลําไย
เมื่อมีโรคและแมลงศัตรูระบาดในระยะนี้ ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรค และสารฆ่าแมลงตามคำ แนะนำ ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนควรห่อผลลำ ไยเพื่อป้องกันการเข้าทำ ลายของแมลงศัตรูพืช เช่น ผีเสื้อมวนหวาน หนอนเจาะขั้ว ค้างคาว และเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้มีการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตลำ ไย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
8. การป้องกันกํ าจัดศัตรูลําไย
8.1 แมลงศัตรูที่สําคัญ
8.1.1 หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ (Litchi fruitborer)
หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ Conopomorpha sinensis (Bradly) ทำลายขั้วผลลำ ไยในช่วงเดือนมีนาคม – สิงหาคม
การป้องกันกํ าจัด
• เก็บผลร่วงเนื่องจากการทำ ลายของหนอนเจาะขั้วแล้วทำ ลายทิ้ง
• หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะกิ่งที่ใบมีดักแด้ของหนอนเจาะขั้วทำ ลายทิ้ง
• หลังติดผลแล้ว 1-2 สัปดาห์ สุ่มช่อผล 10 ช่อต่อต้นถ้าพบไข่ให้พ่นคาร์บาริล 85% WP อัตรา 40 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร ถ้าพบปริมาณมากเกิน 5%ของผลที่สุ่ม พ่นคลอร์ไพริฟอส/ไซเพอร์เมทริน 55%EC (นูเรลล์ – L 505 EC)อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร หรือไซฟลูทริน 5% EC อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร ควรหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน
8.1.2 มวนลําไย (Longan stink bug)
มวนลำไย Tessaratoma papillosa (Drury) ทำ ลายผลลำไยช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม
การป้องกันกํ าจัด
• หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งป้องกันการหลบซ่อนอยู่ข้ามฤดู
• สำ รวจไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ถ้ามีไม่มากเก็บทำ ลาย
• ถ้าสำ รวจพบไข่ถูกแตนเบียนทำ ลาย(มีลักษณะเป็นสีดำ )จำ นวนมาก ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง
• ถ้าพบไข่จำ นวนมาก และไม่ถูกแตนเบียนทำ ลาย(มีสีครีมหรือสีแดงเมื่อใกล้ฟัก)พ่นด้วยคาร์บาริล 85% WP อัตรา 45 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
8.1.3 ผีเสื้อมวนหวาน (Fruit moth)
ผีเสื้อมวนหวานชนิดที่พบมากคือ Othreis fullonia (Clerck) ทำลายผลลำไยในช่วง เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม
การป้องกันกําจัด
• ห่อผลด้วยกระดาษเพื่อป้องกันการทำ ลาย
• กำจัดวัชพืช เช่น ย่านาง ต้นข้าวสาร และบรเพ็ดที่อยู่บริเวณรอบสวน
• ใช้เหยื่อพิษ โดยใช้สับปะรดสุกตัดเป็นชิ้นจุ่มในสารละลายของคาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัมต่อนํ้า 1 ลิตรนาน 5 นาที นำ ไปแขวนในสวนเป็นจุด ๆ ห่างกันจุดละ 20เมตร ขณะผลลำ ไยใกล้สุก
• ใช้แสงไฟส่องและใช้สวิงโฉบจับผีเสื้อทำ ลาย (ช่วงเวลา 20.00 – 22.00น.)
8.1.4 หนอนเจาะกิ่ง (Red coffee borer)
หนอนเจาะกิ่ง Zeuzera coffeae (Nietner) พบระบาดเป็นครั้งคราวตลอดทั้งปี
การป้องกันกํ าจัด
• ตัดกิ่งแห้งที่มีหนอนทำ ลายเผาทิ้ง
• ถ้าพบรูที่ถูกเจาะตามกิ่งและลำ ต้น ใช้สารฆ่าแมลง เช่น คลอร์ไพริฟอส 40% EC อัตรา 1-2 มิลลิลิตรต่อรู ฉีดเข้าในรู แล้วอุดด้วยดินเหนียว
8.1.5 หนอนชอนใบ (Leaf miner)
หนอนชอนใบ Conopomorpha litchiella (Bradley) พบระบาดทั้งปีในช่วงที่ลำ ไยแตกใบอ่อน
การป้องกันกําจัด
• การทำ ลายในต้นเล็ก (อายุ 1-3 ปี) ถ้ามีปริมาณไม่มาก ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงเพราะจะมีอันตรายต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ
• ในระยะแตกใบอ่อน หากพบอาการยอดแห้งหรือใบอ่อนถูกทำลาย พ่นด้วยอิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน
8.1.6 ไรลําไย (Longan crineum mite)
ไรลำไย Aceria longana พบทำ ลายลำ ไยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม
การป้องกันกํ าจัด
• เมื่อสำ รวจพบ ยอดมีอาการแตกเป็นพุ่มคล้ายไม้กวาดให้ตัดทำลาย
• ถ้ามีการทำ ลายเป็นบริเวณกว้าง พ่นด้วยกำ มะถันผง 80% WP อัตรา 40 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตรหรือ อามีทราซ 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อนํ้า 20 ลิตร พ่น 1-3 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 4 วัน
8.2 โรคที่สํ าคัญของลํ าไย
8.2.1 โรคกระหรี่ หรือโรคพุ่มไม้กวาด
ส่วนที่เป็นตาเกิดอาการแตกยอดฝอยเป็นมัดไม้กวาดเป็นรุนแรงทำ ให้ต้นลำ ไยมีอาการทรุดโทรม
การป้องกันกํ าจัด
• ตัดกิ่งเป็นโรคออกเผาทำ ลายในแหล่งมีการระบาดของโรค พ่นด้วยกำมะถันผง 80% WP อัตรา 40 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร หรืออามีทราซ 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อนํ้า 20 ลิตร
จำนวน 1-3 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน เพื่อป้องกันกำ จัดไรลำไย
• ขยายพันธุ์ปลูกจากต้นแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ตรงตามพันธุ์และไม่ปรากฏอาการของโรคพุ่มไม้กวาด
8.2.2 โรครานํ้ าฝน หรือโรคผลเน่า โรคใบไหม้
เมื่อเข้าทำ ลายที่ผลจะทำ ให้ผลเน่าและร่วง เป็นที่ใบอ่อน ยอดอ่อนทำ ให้เกิดอาการใบและยอดไหม้ ระบาดในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกําจัด
พ่นด้วยเมทาเลกซิล 25% WP อัตรา 20-30 กรัม ต่อนํ้า 20 ลิตร พ่น 1 ครั้ง ทันทีที่พบโรคที่ผล และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังพ่นสาร 10-15 วัน ส่วนโรคที่ใบในช่วงผลิใบอ่อนพ่นป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับเป็นที่ผลลำ ไย
8.3 การจัดการวัชพืช
การจัดการวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การปลูกพืชคลุมดินซึ่งจะช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน ช่วยรักษาความชื้นและเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับดิน การตัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก และระหว่างต้นลำ ไยซึ่งอาจจะใช้สลับกับการพ่นสารกำ จัดวัชพืชบ้าง โดยพ่นเพียงปีละครั้งเมื่อไม่สามารถตัดวัชพืชได้ทัน ด้วยเหตุผลเพราะขาดแรงงานหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมที่จะตัดวัชพืชได้ การรักษาบริเวณโคนต้นลำ ไยให้สะอาด ควรตัดวัชพืชให้สั้น ไม่ควรใช้จอบดาย เนื่องจากเป็นอันตรายต่อระบบรากของลำ ไยและควรหลีกเลี่ยงการใช้สารกำ จัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่ม อย่างไรก็ตามหากจำเป็นจริง ๆ อาจใช้ได้บ้าง แต่ควรให้น้อยครั้งที่สุด
สารกำจัดวัชพืชในสวนลำ ไย ได้แก่ ไกลโฟเสท กลูโฟซิเนตแอมโมเนียม และพาราควอท ใช้พ่นหลังวัชพืชงอกในขณะมีวัชพืชมีใบมากที่สุด ปริมาณนํ้าที่ใช้ผสมเพื่อพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ คือ 60-80 ลิตร สำ หรับอัตราการใช้ มีดังนี้
• ไกลโฟเสท 48% SL อัตรา 500-600 มิลลิลิตร/ไร่
• กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม 15% SL อัตรา 800-2,000 มิลลิลิตร/ไร่
• พาราควอท 27.6% SL อัตรา 300 – 600 มิลลิลิตร/ไร่
8.4  การป้องกันกํ าจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
• จะต้องทราบชนิดและรายละเอียดของศัตรูพืชที่ต้องการป้องกันกำ จัด
• เลือกใช้สารให้เหมาะสมกับชนิดของศัตรูพืช สารนั้นต้องมีประสิทธิภาพดีต่อศัตรูพืชนั้นโดยเฉพาะ
• ใช้สารที่สลายตัวเร็วกับพืชอาหารเมื่อใกล้เวลาเก็บเกี่ยว
• ให้ใช้สารเฉพาะในกรณีที่จำ เป็นเท่านั้น และไม่ควรใช้เกินอัตราที่กำ หนดไว้ในฉลาก หรือตามคำ แนะนำ ของทางราชการ
• ไม่ควรผสมสารเกิน 1 ชนิดขึ้นไปในการพ่นแต่ละครั้ง ยกเว้นในกรณีที่ทางราชการแนะนำ ให้ใช้
• ควรพ่นสารเฉพาะเมื่อพบว่ามีศัตรูพืชเข้าทำ ลายในระดับที่จะเกิดความเสียหายต่อผลผลิต และหากมีการระบาดรุนแรงก็ให้เพิ่มจำ นวนครั้งมากขึ้นได้
• การเลือกใช้เครื่องพ่นสาร และวิธีการใช้สารจะต้องเหมาะสมกับชนิดของสารและศัตรูพืช
• ไม่ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสารที่ใช้จะสลายตัวถึงระดับปลอดภัย โดยดูจากคำ แนะนำ การเว้นระยะเก็บเกี่ยวหลังการพ่นสารครั้งสุดท้ายในฉลาก
9. สุขลักษณะและความสะอาด
ตัดวัชพืชให้สั้นอยู่เสมอทั่วทั้งแปลง โดยเฉพาะบริเวณโคนต้น และบริเวณระหว่างต้น ระหว่างแถวลำ ไย หลังการตัดแต่งกิ่งควรนำ กิ่งที่ตัดทิ้งออกไปนอกสวนแล้วเผาทำ ลาย เศษวัสดุจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้งานในสวนแล้วควรเก็บออกไปฝังดินนอกสวน สารป้องกันกำ จัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีควรเก็บในที่ปลอดภัยห่างไกลจากอาหาร แหล่งนํ้า สัตว์เลี้ยง และที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการพ่นสารป้องกันกำ จัดศัตรูพืชควรทำ ความสะอาดหลังจากใช้งานแล้ว หากชำ รุดควรซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมจะใช้ปฏิบัติงาน
10 การเก็บเกี่ยว
ใช้กรรไกรตัดช่อผลลำ ไยจากต้น นำ ช่อผลบรรจุภาชนะรองรับเช่นตะกร้าที่มีกระสอบหรือฟองนํ้ารองก้น การตัดช่อผลต้องให้มีใบสุดท้ายที่ติดช่อผล (หรือใบแรกที่ติดช่อผล) ไปด้วยเพราะตาที่อยู่ถัดลงไปอีก 1 ตา เป็นตาที่สมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะแตกเป็นกิ่งใหม่ต่อไป ขนย้ายผลลำ ไยไปโรงคัดเกรดอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดการบอบชํ้า
11. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ตัดผลลำไยที่มีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานในแต่ละช่อออกตัดก้านช่อผลเหลือยาวไม่เกิน 15 ซม. รวมช่อผลลงบรรจุในตะกร้าพลาสติกที่มีฟองนํ้ารองก้น พร้อมคัดขนาดไปในคราวเดียวกัน
บรรจุลำ ไยตะกร้าละ 10 กิโลกรัม ปิดทับฟองนํ้าก่อนปิดด้วยฝาตะกร้า ผูกเชือกให้แน่น นำ ตะกร้าบรรจุลำ ไยผ่านความเย็นโดยใช้ไอเย็นก่อนการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) หลังการรมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ นำตะกร้าบรรจุลำไย ขนส่งโดยรถที่มีระบบห้องเย็น เพื่อขนส่งในวันเดียวกัน และเมื่อไปถึงท่าเทียบเรือแล้วควรขนลงตู้คอนเทนเนอร์ (container) ซึ่งปรับอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส เพื่อขนส่งไปยังตลาดต่างประเทศต่อไป
12. การบันทึกข้อมูล
ควรบันทึกข้อมูลวันปฏิบัติการต่างๆ โดยการจัดสมุดบันทึกทำ เป็น ตารางเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์เหตุการณ์ในปีต่อ ๆ ไป และเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่างๆ ได้แก่ วันปฏิบัติการต่างๆ เช่น วันตัดแต่งกิ่ง วันใส่ปุ๋ย ชนิดปุ๋ยที่ใช้ วันพ่นสารป้องกันกำ จัดศัตรูพืช ชนิดและอัตราที่ใช้ วันที่มีโรคแมลงแต่ละชนิดระบาด อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณนํ้าฝน (ถ้ามี) ผลผลิต และอื่น ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น